uhren replica
قطعات خودرو
pasted_ds | Darasamutr School Siracha Chonburi
คุณประยูร สิริสันต์

คุณประยูร สิริสันต์

คุณมณี สิริสันต์

คุณมณี สิริสันต์

คุณยอห์น ลาร์เซ็น และ คุณอลิซ ลาร์เซ็น (Larsen) ชาวเดนมาร์ก ผู้ก่อตั้งโรงเรียนดาราสมุทร (ต่อมาท่านทั้งสองได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็นภาษาไทย คือเปลี่ยนเป็น “คุณประยูร สิริสันต์” และ “คุณมณี สิริสันต์”)
โดยในปี พ.ศ. 2475 ครอบครัวลาร์เซ็น (ในบางข้อมูลเรียก ลาร์สัน) ซึ่งเป็นชาวเดนมาร์ก ได้ย้ายที่อยู่จากกรุงเทพฯ มาพำนักอยู่ที่ อ.ศรีราชา คุณประยูร ซึ่งนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนเรียกกันติดปากว่า “ครูยอน” เคยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ และคุณมณี ก็เคยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ กรุงเทพฯ มาก่อนเช่นกัน
        เมื่อท่านทั้งสองได้ย้ายมาอยู่ที่ศรีราชานี้ คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมีบ้านพักตากอากาศอยู่หลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนในช่วงปิดภาคเรียนของคณะภราดาและนักเรียนประจำของโรงเรียนของคณะ บ้านพักหลังนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า “วิลลา สแตลลา มารีส”(Villa Stella Maris) สร้างอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันนี้ เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา

         คณะภราดามาพักผ่อนที่ศรีราชาเพียงปีละ สองเดือนเท่านั้น ดังนั้น แทนที่จะทิ้งบ้านพักให้เป็นบ้านร้างถึงปีละสิบเดือนโดย เมื่อครอบครัวลาร์เซ็นย้ายมาอยู่ที่ศรีราชา  ภราดาอธิการไมเคิล (มิแชล เรอเน เลอดึ๊ก ชาวฝรั่งเศส)  ซึ่งเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก กรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ได้ฝากให้ครอบครัว ลาร์เซ็น ช่วยดูแลบ้านพักตากอากาศ  “วิลลา สแตลลา มารีส”  หลังนี้ให้ด้วย เนื่องจาก ภราดาไมเคิล มีความรักใคร่สนิทสนมกับคุณประยูรและคุณมณีเป็นพิเศษ  และคำว่า  สแตลลา มารีส ในภาษาละติน แปลว่า ดาวทะเล ,ดาวแห่งท้องทะเล และเป็นสมญานามของพระแม่มารีย์ มารดาของพระเยซู ในความหมายของผู้นับถือศาสนาคาทอลิกตั้งแต่ยุคโบราณ

          เมื่อมาอยู่ที่ศรีราชานั้น คุณประยูรได้ทำงานที่ตั้งใจไว้คือ เก็บของป่าล่าสัตว์ ส่วนคุณมณีซึ่งเคยเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ก็ได้ช่วยทำบ้างเล็กๆน้อยๆ มาวันหนึ่ง นายบั๊กเซ้ง แซ่เตียว เจ้าของร้านหลีแซ ศรีราชา ซึ่งรู้จักกับคุณประยูรและได้ทราบว่าคุณมณี มีเวลาว่าง นายบั๊กเซ้ง จึงได้ส่งลูกๆของเขา 3 คน คือ 1. ด.ญ.สุมาลี (จวน) เอกรังษี 2. ด.ช.โฮ้ว แซ่เตียว และ 3. ด.ช.อุดม เอกรังษี มาเรียนพิเศษกับคุณมณี นี่เป็นก้าวแรกของการให้การศึกษาแก่บุตรหลานชาวศรีราชาของคุณมณี ส่วนคุณประยูร เมื่อว่างจากภารกิจ ก็มาช่วยสอนบ้าง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

ค.ศ. 1934 – 1935 / พ.ศ. 2477 – 2478
ต่อมา ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2477 ภราดาไมเคิลกับคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มาพักร้อนที่ศรีราชา ตามปกติ ชาวตลาดศรีราชาซึ่งเห็นความสำคัญของการศึกษา ได้แสดงความจำนงให้คณะภราดาสร้างโรงเรียนเพื่อบุตรหลานชาวศรีราชา บ้างภราดาได้ทราบจากคุณประยูรว่า คุณมณีได้สอนเด็กๆอยู่บ้างแล้ว จึงปรึกษาหารือกัน คุณประยูรไม่ได้รับปากในทันที แต่ขอถามความเห็นจากคุณมณีก่อน ได้รับคำตอบว่า “ดีแล้ว ฉันจะได้มีเพื่อนแก้เหงาและได้สอนมากขึ้น” คำตอบนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งโรงเรียนสแตลลา มารีส ขึ้น ในอีก 2 ปี ข้างหน้า โดยมีคุณประยูรเป็นผู้จัดการ และคุณมณีเป็นครูผู้สอน

โดยภราดาไมเคิล ได้ให้การสนับสนุน โดยช่วยจัดหาโต๊ะเรียนเก้าอี้เรียนไปให้ คุณประยูรและคุณมณี จึงได้ใช้บ้านพัก “วิลลา สแตลลา มารีส” เป็นที่สอนเด็กๆ และในวันแรกที่เปิดการเรียนการสอน มีนักเรียนมาเรียน 7 คน สอนหัดอ่านและเขียนเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้จัดสอนเป็นชั้นเรียนตรงตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ สถานที่เรียนก็ใช้ชั้นล่างของบ้านพัก “วิลลา สแตลลา มารีส” ซึ่งเป็นห้องอาหารกว้างขวาง นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกๆของชาวตลาดอำเภอ

ศรีราชา และลูกๆของข้าราชการอำเภอศรีราชาอนึ่ง ที่ศรีราชา ขณะนั้น มีโรงเรียนระดับประถมเพียงแห่งเดียว คือ โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีราชา ในระยะนี้ภราดาไมเคิล ได้ส่งครูจากกรุงเทพฯมาช่วยสอนด้วย นักเรียนแต่งตัวกันตามสบาย ไม่มีเครื่องแบบ บางคนเดินเท้าเปล่า อย่างดีก็ใส่รองเท้ายางรถยนต์ เดินตามทางรถไฟ ผ่านทุ่งสลับกับพงไพรจนถึงโรงเรียน อาศัยข้อมูลจาก 1. หนังสือศตวรรษสมโภช คณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย ภาคประวัติ ร.ร.อัสสัมชัญศรีราชา

ค.ศ. 1936 / พ.ศ. 2479
ยุคบุกเบิกและนำโรงเรียนเข้าระบบอย่างเป็นทางการ
ใบอนุญาตให้ตั้ง “โรงเรียนสะแตลลามารีส” เมื่อ พ.ศ. 2479
คุณประยูร เห็นว่าการสอนหนังสือมีประโยชน์ต่อลูกหลานชาวศรีราชา ประกอบกับจำนวนเด็กเพิ่มขึ้น จึงยื่นหนังสือขอจัดตั้งโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2479 และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2479
ตามหนังสือกระทรวงธรรมการ ที่ 39953/2479 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2479 โดยผู้สั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ธรรมการ ตั้งชื่อโรงเรียนตามชื่อบ้านพักว่า โรงเรียนสะแตลลามารีส อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ (เอกชน) แห่งแรกในอำเภอศรีราชา
โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.3 (ป.7) วิชาที่เน้น คือ “วิชาภาษาอังกฤษ” ส่วนภาษาไทยใช้ตำราของคณะเซนต์คาเบรียล
คือ “หนังสือดรุณศึกษา” ในปีนี้มีนักเรียน 25 คน
สภาพห้องเรียน – มีห้องเรียนห้องเดียว ทุกระดับชั้นเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน ค่าเล่าเรียน ป.1 เดือนละ 1 บาท
ป.2 , ป.3 , ป.4 เดือนละ 1 บาท 50 สตางค์
– เครื่องแบบนักเรียนหญิงเป็นผ้าซิ่นดำ เสื้อขาว
– เครื่องแบบนักเรียนชาย นุ่งกางเกงสีดำหรือสีกากี เสื้อขาว
– สมัยนั้นคนส่วนใหญ่เรียกโรงเรียนว่า “โรงเรียนครูยอน”

ค.ศ. 1937 / พ.ศ 2480 สมัย คุณพ่อโมรีส การ์ตอง ชาวฝรั่งเศส เป็นอธิการบ้านเณรพระหฤทัยฯ ศรีราชา (ค.ศ. 1934 – ค.ศ. 1938) มีครูเณร จากสามเณราลัยพระหฤทัยฯ ศรีราชา ไปช่วยสอนและช่วยงานด้านการบริหารที่โรงเรียนสะแตลลามารีส ในปีนี้ มีนักเรียน 46 คน ค่าเล่าเรียนคนละ 2 บาทต่อเดือน สามเณรของบ้านเณรพระหฤทัยฯ ศรีราชา ที่ไปเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ค่าเล่าเรียนคนละ 50 สตางค์

ค.ศ. 1939 / พ.ศ. 2482 ปี พ.ศ. 2482 โรงเรียนมีครูใหญ่คนแรก คือ นายสมอง งามศรี (เป็นครูใหญ่ พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2486) ปีนี้ เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2482– พ.ศ.2488) ประเทศไทยประกาศใช้รัฐนิยมให้เปลี่ยนชื่อบุคคลและสถานที่ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย

ค.ศ. 1975 / พ.ศ. 2518

คุณพ่อประยูร  นามวงศ์                               เป็นผู้จัดการ ถึง 28 ต.ค. 2518

คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์                                    เป็นผู้จัดการ ตั้งแต่ 29 ต.ค. 2518

ค.ศ. 1940 / พ.ศ. 2483 (เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน ระหว่างไทย – ฝรั่งเศส) ค.ศ. 1941 / พ.ศ. 2484

คุณประยูร ได้ขออนุญาต   เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสะแตลลามารีส เป็น “โรงเรียนดาราสมุทร” ในปี พ.ศ. 2484 หลังจากได้รับคำแนะนำจากกระทรวงฯ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐนิยมในขณะนั้น โดยได้รับอนุญาตให้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสแตลลามารีส เป็น “โรงเรียนดาราสมุทร”อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่  21 พฤษภาคม 2484  ตามใบอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงกิจการ  ร.21  ใบอนุญาตเลขที่ 1/2484 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484

สภาพแวดล้อมของโรงเรียนดาราสมุทร ช่วงนี้ คือ  ตั้งอยู่ในที่ที่ต่อมาจะเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โดยมีอาคารไม้ทรงปั้นหยาขนาดใหญ่ 2 หลัง กับเรือนพักคนดูแลสถานที่และโรงครัวอีกอย่างละหลัง ถัดไปเป็นเรือนพักสำหรับนักเรียน มีสนามฟุตบอลและต้นไม้ใหญ่ๆให้ความร่มรื่นอยู่ทั่วไป ซึ่งในขณะนั้น มีอาณาบริเวณเป็นเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 500 ไร่ ดูเวิ้งว้างและเงียบสงัด มีต้นยางยืนต้นอยู่เป็นระยะ  อยู่ห่างจากถนนใหญ่ (สุขุมวิท) 1 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมมีแต่ทางเกวียนกับรางรถไฟบรรทุกซุงของบริษัทป่าไม้ศรีมหาราชา ตัดผ่านหน้าที่ดิน การสัญจรไปมาโดยมากใช้จักรยานหรือเดินเท้าเป็นส่วนใหญ่  บ้านเรือนของชาวบ้านละแวกนี้ ตั้งอยู่ห่างๆกันไม่กี่หลัง
ค.ศ. 1942 /พ.ศ. 2485 การติดต่อขอย้ายโรงเรียนดาราสมุทร มาอยู่ในสถานที่ของสามเณราลัยพระหฤทัยฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2484 – กลางปี 2488 เป็นช่วงสงคราม กรุงเทพฯถูกทิ้งระเบิดบ่อย  โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ ได้รับความเสียหาย คณะภราดาเห็นว่าขืนอยู่ในกรุงเทพฯ อาจได้รับอันตราย และเนื่องด้วยขณะนั้นในบริเวณ “วิลลา สแตลลา มารีส”  ที่ศรีราชา มีเรือนไม้ใหญ่ๆ อยู่ถึงสองหลัง และเรือนเล็กๆอีก 2 หลังแล้ว จึงเห็นว่าควรอพยพไปเปิดการสอนที่ศรีราชา   โดยให้ภราดาเทโอฟาน (ชิน บุณยานันทน์) ซึ่งเป็นอธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียลในขณะนั้น อพยพนักเรียนประจำและเด็กกำพร้าที่คณะภราดาฯอุปการะ หลบภัยสงครามมาเปิดทำการสอนที่ศรีราชา โดยชุดแรกที่มานั้น มาในเดือนพฤศจิกายน 2485 และได้เปิดทำการสอนในฐานะโรงเรียนอพยพ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2486 อนึ่ง ปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) ทำการเปิดสอนตามเดิม ที่กรุงเทพฯ แต่อาคารนอนของนักเรียนประจำ ถูกทำลายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงไม่สามารถย้ายเด็กกำพร้าและนักเรียนประจำจากศรีราชากลับไปอยู่ที่พระนครได้   จำเป็นต้องเรียนที่ ศรีราชาต่อไป ประกอบกับเยาวชนในท้องถิ่นศรีราชา สมัครเข้าเป็นนักเรียนไป-กลับจำนวนมากขึ้น คณะภราดาจึงตัดสินใจเปิดทำการสอนอย่างจริงจัง ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2487 โดยมีภราดาเทโอฟาน (ชิน บุณยานันทน์) เป็นอธิการ ในการนี้ เป็นเหตุให้คุณประยูรมาติดต่อกับคุณพ่อที่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา จะขอย้ายนักเรียนโรงเรียนดาราสมุทร  มาเรียนที่อาคารไม้ (บ้านพักซิสเตอร์) ที่อยู่ด้านซ้ายมือของอาคารไม้หลังแรกของสามเณราลัยฯ โดยได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการและพระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส ประมุขมิสซังกรุงเทพฯในขณะนั้น : ในช่วงนั้น สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชาและโรงเรียนสามเณราลัยฯ ยังปิดการดำเนินกิจการอยู่ เนื่องจากกรณีพิพาทอินโดจีน (ไทย-ฝรั่งเศส) และบรรดาผู้ใหญ่ของสามเณราลัยส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศส จึงถูกทางการเพ่งเล็ง พระสังฆราชแปร์รอส เกรงว่าสามเณรจะไม่ปลอดภัย จึงปรึกษากับคุณพ่อมีแชล อ่อน ประคองจิต(ซึ่งภายหลังคือ พระสังฆราชมีแชล อ่อน(มงคล) ประคองจิต)   ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ในช่วงนั้น โดยตกลงให้ปิดสามเณราลัยและปิดโรงเรียนสามเณราลัยฯ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2483 โดยให้สามเณรทุกคนกลับไปบ้าน แล้วคอยฟังคำสั่งต่อไป   (สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา เปิดใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2487)

ค.ศ. 1943 / พ.ศ. 2486

คุณประยูร  สิริสันต์                 เป็นเจ้าของและผู้จัดการ  (ดำรงตำแหน่ง 30 พ.ย. 2479 – 28 ก.ค. 2491)
ครูเณรสุนันต์  โรจนรัต             เป็นครูใหญ่  (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2486 – พ.ศ.2487)

ครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร คนใหม่ คือ ครูเณรสุนันต์  โรจนรัต  (ครูเณรของสามเณราลัยพระหฤทัยฯ ศรีราชา) โดยย้ายสถานที่เรียนจากที่เดิม (บ้านพักสแตลลามารีส)  มาอยู่ที่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา มีอาคารทรงปั้นหยาหลังคามุงจาก บริเวณด้านหลังโรงครัวของบ้านเณรเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นสามเณรของ สามเณราลัยพระหฤทัยฯ ศรีราชา : พระสังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย  สมานจิต ท่านเคยให้สัมภาษณ์ในวารสารร่มขวัญ ปีที่ 8 ฉบับที่ 63 มีนาคม 2527  หน้าที่ 3 ว่า ตอนที่ท่านเรียนที่ดาราสมุทร ในชั้น ม.3 (เทียบเท่า ป.7) ท่านเรียนที่โรงอาหารบ้านเณร (พระหฤทัย ศรีราชา) ชั้นบน
ค.ศ. 1944 / พ.ศ. 2487 พระสังฆราชเรอเน มารี โยเซฟ แปร์รอส   ตัดสินใจให้เปิดสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ใหม่ในปีนี้ โดยแต่งตั้ง คุณพ่อสงวน  สุวรรณศรี (ต่อมาคือ พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ สงวน  สุวรรณศรี  ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี) เป็นคุณพ่ออธิการสามเณราลัยฯ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2487 โดยมี คุณพ่อดูรังด์ กับคุณพ่อมีแชล อ่อน เป็นผู้ช่วยอธิการ และภายในปีนี้เอง คุณประยูรและคุณมณี สิริสันต์ ได้มอบกิจการของโรงเรียนดาราสมุทร ให้แก่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา โดยมี คุณพ่อสงวน สุวรรณศรี เป็นผู้รับมอบโรงเรียนในปีเดียวกันนี้ สามเณราลัยฯ ได้เปิดรับสมัครสามเณรอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากสงครามสงบแล้ว บรรดาสามเณรจึงได้มาสมทบเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร และต่อมาก็มีผู้ปกครองในตลาดศรีราชา ส่งบุตรหลานมาเรียนในสถานที่ตั้งใหม่นี้ด้วย  โดยเปิดเรียนวันแรกเป็นทางการของบ้านเณรฯ  ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2487   หลังจากที่ปิดบ้านเณรฯไปในช่วงสงคราม พร้อมกับการเปิดปีการศึกษา 2487ของโรงเรียนดาราสมุทร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2487  ได้มีการแยกมิสซังจันทบุรี ออกจากมิสซังกรุงเทพฯ โดยทั้งสองมิสซังยังใช้สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา และโรงเรียนดาราสมุทร ร่วมกัน ค.ศ. 1946 / พ.ศ. 2489คุณประยูร  สิริสันต์   เป็นเจ้าของและผู้จัดการ ครูเณรบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ           เป็นครูใหญ่  (ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ พ.ศ. 2489 – 12 ต.ค. 2492)ช่วงนี้ครูผู้สอนทุกคนก็เป็นครูเณรทั้งหมดเช่นเดิม มี ครูเณรบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ (ภายหลังคือ บาทหลวงบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ)เป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร คนที่ 3  แทน ครูเณรสุนันต์  โรจนรัต และในปีเดียวกันนี้ มีการสร้างวัดพระหฤทัย ศรีราชา เป็นอาคารไม้  2 ชั้น ชั้นบนใช้เป็นวัด ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนของโรงเรียนดาราสมุทร  โดยชั้นล่างของวัดกั้นเป็นห้องๆ 4 ห้อง ใช้เป็นห้องเรียนของ ป.1 ถึง ป.4  ซึ่งย้ายที่เรียนจากอาคารของบ้านเณรมาเรียนที่ชั้นล่างของวัดที่เพิ่งสร้างเสร็จนี้แทนสมัยของครูเณรบัณฑิต นี้ เจ้าของโรงเรียน-ผู้จัดการ-ครูใหญ่และครูน้อย เป็นสามเณรทั้งสิ้น ปัญหาจึงมีอยู่ว่า ทุกคนจะทำหน้าที่ของตนทั้งวันไม่ได้  เพราะนอกเวลาสอนของแต่ละคน ก็ต้องเรียนภาษาละตินและตอบคำถามของคุณพ่ออธิการและคุณพ่อผู้ช่วยอธิการ บรรดาครูเณรทั้งหลายจึงต้องผลัดเปลี่ยนกันเพื่อทำหน้าที่ทางโรงเรียนก็ดี การเรียนภาษาละตินก็ดี มิให้เป็นอุปสรรคทั้งทางโรงเรียนและทางบ้านเณร โรงเรียนเราจึงมีการบรรจุครูพิเศษค่อนข้างมาก เพราะครูเณรจะต้องไปศึกษาต่อที่กรุงโรมประเทศอิตาลี หรือปีนังประเทศมาเลเซีย

หมายเหตุ :   วัดซึ่งใช้ชั้นล่างเป็นห้องเรียนหลังนี้ ตั้งอยู่ที่เดียวกันกับวัดพระหฤทัย ศรีราชา ในปัจจุบัน หันหน้าไปทางถนนทางหลวงสาย 22 (ถ.สุขุมวิทในปัจจุบัน)  นับว่าเป็นสถานที่เรียนแห่งที่สอง ต่อจากบ้านพักซิสเตอร์ ที่ใช้เป็นที่เรียนในช่วงที่โรงเรียนย้ายมาอยู่ในสถานที่ของสามเณราลัยพระหฤทัยฯ ศรีราชา  ส่วนสนามให้นักเรียนได้วิ่งเล่น ก็ใช้สนามของบ้านเณรพระหฤทัยฯ
ค.ศ. 1947 / พ.ศ. 2490
คุณพ่อมีแชล อ่อน(มงคล) ประคองจิต (ต่อมาคือ พระสังฆราชมีแชล อ่อน(มงคล) ประคองจิต) มาเป็นอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา แทน คุณพ่อสงวน  สุวรรณศรี ซึ่งไปทำหน้าที่เจ้าอาวาสวัดพระหฤทัย ศรีราชา  เพียงตำแหน่งเดียว
ค.ศ. 1948 / พ.ศ. 2491 ครูเณรบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ เป็นเจ้าของ / ผู้จัดการ และครูใหญ่  (ดำรงตำแหน่งเจ้าของและผู้จัดการ  28 ก.ค. 2491 – 12 ต.ค. 2492) โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับอนุญาตให้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียน อย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ตามใบอนุญาตเลขที่ 5/2491  ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ลงนามโดยข้าหลวงประจำจังหวัด จากนั้นคุณพ่ออธิการมีแชล อ่อน(มงคล) ประคองจิต  ได้ส่งเรื่องขออนุมัติจากจังหวัด ขอเปลี่ยนชื่อเจ้าของกิจการของโรงเรียนดาราสมุทร ให้ ครูเณรบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ (ภายหลังคือ บาทหลวงบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ) ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทรอยู่แล้ว เข้ารับเป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนดาราสมุทร อีกหน้าที่หนึ่ง แทน คุณประยูร  สิริสันต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียน

975 / พ.ศ. 2518

คุณพ่อประยูร  นามวงศ์                               เป็นผู้จัดการ ถึง 28 ต.ค. 2518

คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์                                    เป็นผู้จัดการ ตั้งแต่ 29 ต.ค. 2518 

อาคารหลังที่ 1 คืออาคารทรงปั้นหยา 5 ห้องเรียน ที่เห็นทางขวามือ อาคารหลังที่ 2 คืออาคาร “ดาราสมุทร” อยู่ทางซ้ายมือ

 คุณพ่อประยูร  นามวงศ์  ผู้จัดการ  ขออนุญาตรื้อถอนอาคารหลังที่ 1 เมื่อ 27 มกราคม พ.ศ.2518  อาคารหลังที่ 1 คือ เรือนไม้ทรงปั้นหยา 2 ชั้น 5 ห้องเรียน อาคารหลังนี้  สร้างเมื่อ พ.ศ.2494  โดย พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย  กิจบุญชู สมัยเป็นครูเณรทำหน้าที่เป็นเจ้าของ ผู้จัดการและครูใหญ่  พร้อมกับรื้ออาคารหลังที่ 2 ที่ครูเณรบัณฑิต  ปรีชาวุฒิ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500  คืออาคารไม้ 2 ชั้น (อาคารดาราสมุทร)

ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยกันตามรูปข้างบน เพื่อใช้เตรียมเปิดแผนกอนุบาลในปีการศึกษา 2518 และในปีนี้ โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ

          คุณพ่อประยูร  นามวงศ์  ผู้จัดการ  ได้นำไม้ที่รื้อจากอาคารเดิม 2 หลังข้างต้น มาประกอบขึ้นใหม่ให้มีขนาดและทรงเดียวกับ

อาคารที่ คุณพ่อสวัสดิ์  กฤษเจริญ  ได้สร้างไว้ (จากต้นมะม่วงนับไปทางตะวันตก ยาว 5 ห้อง)  แล้วเปลี่ยนกระเบื้อง ทาสี ทำให้ดูเหมือนใหม่  เนื่องจากโรงเรียนมีทุนทรัพย์น้อย เพื่อใช้เป็นอาคารของแผนกอนุบาลที่จะเปิดในปีการศึกษานี้ โดยได้เริ่มเปิดแผนกอนุบาล  โดยในปีนี้มีนักเรียนอนุบาลรุ่นแรก 296 คน  ได้รับอนุญาตเมื่อ 17 พ.ค. 2518  ตามใบอนุญาต ร.12  เลขที่ 10/2518  ลงวันที่ 31 มี.ค. 2518  

ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. 2518  ตามคำร้องที่ 15/2518 ลงวันที่ 6 มี.ค. 2518  ของ คุณพ่อประยูร นามวงศ์ อนุญาตให้ ขยายชั้นเรียนจากเดิมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็น “จากชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ชั้นอนุบาลรับนักเรียนทั้งชายและหญิง ได้”

         วันที่ 29 ตุลาคม 2518     คุณพ่อมีคาแอล วีระ  ผังรักษ์ เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนดาราสมุทร แทน คุณพ่อประยูร  นามวงศ์ ซึ่งย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ  อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สังฆมณฑลนครราชสีมา   นอกจากนี้ คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์  ก็เข้ารับตำแหน่งอธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา แทน คุณพ่อเมธี  วรรณชัยวงศ์ อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย นอกจากนี้ท่านยังทำหน้าที่เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี (ต่อมาจะเรียกว่า รสจ.)  ขณะนั้นโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี มีทั้งสิ้นที่เป็นของสังฆมณฑลเอง 10 โรงเรียน ในสมัยนี้ มีการตั้งกองทุนเครดิตยูเนียน (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กองทุนสวัสดิการครูดาราสมุทร หรือที่เรียกว่า ก.ส.ด.)  เพื่อช่วยเหลือครูในด้านการเงิน และได้เริ่มกลุ่มคูร์ซิลโล (องค์กรของศาสนาคาทอลิก) ในโรงเรียนดาราสมุทร ในปีนี้ด้วย คุณพ่อได้ปรับปรุงแผนกอนุบาลด้านบุคลากร โดยส่งครูเข้าอบรมเกี่ยวกับการอนุบาล การไปดูงานของโรงเรียนต่าง ๆที่มีชื่อเสียง   ในแผนกอนุบาล  จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักสูตร ทำให้แผนกอนุบาลดาราสมุทร เป็นที่นิยม ได้รับ  ความเชื่อถือ เป็นผลให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นในปีต่อ ๆมา ส่วนในแผนกมัธยม ได้เริ่มเปิดสอนวิชาพิมพ์ดีดภาษาไทย
ค.ศ. 1976 / พ.ศ. 2519

          โรงเรียนดาราสมุทร  ขอกราบขอบพระคุณ พระสังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย  สมานจิต  ประมุขแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี  ในฐานะที่ท่านเป็นต้นคิดในการจัดทำวารสารของโรงเรียนดาราสมุทร (เวลานั้นยังมิได้มีการคิดชื่อวารสาร)  1 มิ.ย. 2519  จัดทำวารสาร “ร่มขวัญ” ฉบับปฐมฤกษ์ เพื่อเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียนและยังจัดทำอยู่จนถึงทุกวันนี้  โดยคุณพ่อวีระ  ผังรักษ์ ผู้จัดการ เป็นผู้ผลักดันให้วารสารของโรงเรียน ชื่อ “ร่มขวัญ” ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ คุณพ่อยังร่วมเขียนคอลัมน์ประจำ “ขวัญเอย ขวัญแก้ว” เพียบพร้อมด้วยข้อคิดเตือนใจ นานาประการ อีกทั้งให้การสนับสนุนจุนเจืออยู่เสมอ

วารสาร “ร่มขวัญ” ฉบับปฐมฤกษ์ 

         นอกจากนี้ มีการปรับปรุงห้องสมุด โดยจัดหนังสือในห้องสมุดเป็นหมวดหมู่ตามระบบ “ดิวอี้” โดย ม.ณิมมาณ  เจริญกูล  เมื่อต้นปีการศึกษา 2519 โดยมีครูผู้ช่วยบรรณารักษ์และนักเรียนที่เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ร่วมดำเนินการ  และยังได้จัดให้มีห้องส่งเสริม  การอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ที่ตึกประถม โรงเรียนมีการ สร้างศาลาผู้โดยสารหน้าประตูฝั่งอนุบาล และมอบให้กรมทางหลวง โดยการหาทุนของนักเรียน ม.ศ.3 รุ่นที่ 17 ปีการศึกษา 2519 นี้  โรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนหญิงจากเดิมที่รับถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เป็น   “รับถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”  โดยเรียนรวมกันเป็นสหศึกษาได้   โดยได้รับอนุญาตเมื่อ  1 มิ.ย. 2519 โดยในปีนี้โรงเรียนเริ่มรับนักเรียนหญิงถึงชั้นประถมปีที่ 5และปีต่อๆไปจนถึงระดับชั้นสูงสุดของโรงเรียน สถิตินักเรียนในปี 2519 นี้  มีจำนวนทั้งสิ้น  1,935  คน (รายงานโดย มาสเตอร์กมล  เอี้ยพิน) จำนวนครู 70 คน ทางด้านแผนกมัธยมมีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา  ห้องพิมพ์ดีด  ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และห้องสมุด โรงเรียนได้สร้างห้องแล็บฯภาษาอังกฤษ โดย ม.ไพศาล  กุลวิทย์ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้สร้างและประดิษฐ์อุปกรณ์ด้วยตนเอง และมี ม.ประทาน  สุวิชากร เป็นผู้สอนและดูแล โดยสร้างในช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อน เพื่อให้ทันเปิดปีการศึกษา 2519ยุคนี้ทีมฟุตบอลของครูดาราสมุทร นำโดย ม.ศิริศักดิ์  สิริชัยเจริญกล (มาสเตอร์สิ่ง) อยู่ในช่วงโด่งดัง เพื่อกิจการงานสัมพันธ์ชุมชนในยุคนี้ คุณครูอำพร  เรือนงาม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกอนุบาล นักเรียนหอพักนักเรียนชายของโรงเรียนหรือหอพักใหญ่ ในยุคนี้ ใช้อาคารที่เป็นตึกคอนกรีตหลังแรกของบ้านเณร(ตึกเซมินาริอุม) เป็นหอพัก โดยมี คุณพ่อไพบูลย์  นัมคณิสรณ์ ผู้ช่วยอธิการสามเณราลัยฯ เป็นผู้ดูแลหอพัก  ส่วนหอพักหอพักเล็ก รับตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ป.5 มีซิสเตอร์และครูผู้หญิง เป็นผู้ช่วยดูแล ปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย จำนวน 46 เครื่อง เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.ศ.1 – ม.ศ.3 ได้เรียนพิมพ์ดีดกันใน  ชั่วโมงธุรกิจศิลป์ ในภาคเรียนหลัง  ส่วนวิชาลูกคิด ซึ่งสอนแล้วในภาคเรียนแรก จะยุติไว้แค่นั้นในสมัยคุณพ่อวีระ  ผังรักษ์ เป็นผู้จัดการ  ได้ริเริ่มให้มีการแข่งขันกีฬาและการสังสรรค์ร่วมกัน ระหว่างครู 3 โรงเรียนตั้งแต่ปี 2519  คือ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา  โรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ และโรงเรียนดาราสมุทร โดยผลัดเวียนกันเป็นเจ้าภาพและยังปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ (พ.ศ. 2559) 

ค.ศ. 1977 / พ.ศ. 2520

การโอนกิจการของโรงเรียนดาราสมุทร ให้เป็นนิติบุคคล  มิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพฯ

 พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย  สมานจิต ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี เจ้าของโรงเรียนดาราสมุทร โอนกิจการของโรงเรียนดาราสมุทร ให้เป็นนิติบุคคลมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพฯ  โดยมี คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์ ผู้จัดการโรงเรียนดาราสมุทร เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ตั้งแต่ 24 มิ.ย. 2520  บริหารงานโดยคณะบาทหลวงสังฆมณฑลจันทบุรี 

โรงเรียนดาราสมุทร  อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ            เป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาต

คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์                 เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ

ม.กมล  เอี้ยพิน                      เป็นครูใหญ่

 คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์  ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ  สร้างอาคารพระแม่มารี สำหรับแผนกอนุบาล โดยรื้อโรงอาหารซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารอนุบาลเดิมออก เริ่มสร้างเมื่อวันที่  8 มกราคม 2520  ได้รับอนุญาตให้เปิดใช้ตั้งแต่ 12 ธ.ค. 2520 เป็นอาคารตึกสองชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน/ห้องนอน  7 ห้อง  ห้องธุรการ  ห้องอาหาร และเวทีการแสดง และรับนักเรียนเพิ่มจากเดิม 2,315 คน เป็น 2,630 คนได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2520 เป็นต้นไป  พร้อมทั้งได้สร้างรั้วล้อมรอบบริเวณอาคารอนุบาลทั้งหมด อีกโสตหนึ่งทำพิธีเสกอาคาร โดย พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย  สมานจิต  เมื่อ 17 ธันวาคม 2520 โดยมี นายประสงค์  วิทยเขตปภาผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี  เป็นประธานในพิธีเปิด ในปีนี้  ฝ่ายปกครองโรงเรียนดาราสมุทร เริ่มออกระเบียบให้คะแนนความประพฤตินักเรียนได้มีการสร้างสะพานลอยหน้าโรงเรียน โดย คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์ ผู้จัดการ (เตรียมไว้สำหรับอาคาร 40 ปี ที่จะสร้างใหม่ด้วย)โดยเปิดใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม  2520  พิธีเปิดโดย นายบุญช่วย  ศรีสารคาม  ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี         สาเหตุที่ต้องสร้าง : เนื่องจากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับนักเรียนบ่อยครั้ง จากการข้ามถนนของนักเรียน ถึงแม้ว่าจะมีลูกเสือจราจร  และตำรวจทางหลวงคอยอำนวยความสะดวกให้ ทางโรงเรียนจึงดำริที่จะให้มีการสร้างสะพานคนเดินข้ามถนนหน้าบริเวณโรงเรียน  เพื่อความสะดวกปลอดภัยของนักเรียน และความดำริดังกล่าวได้รับความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก นายบุญช่วย  ศรีสารคาม   ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายปฐม  วรรธนะภูติ  นายอำเภอศรีราชา และเทศบาลตำบลศรีราชา ในปีการศึกษา 2520 นี้ มีชมรมอาสาพัฒนาเกิดขึ้น ซึ่งเป็นชมรมใหม่ของดาราสมุทร เป็นชมรมของนักเรียน  คำขวัญคือ   “มีระเบียบ วินัย รู้จักเสียสละอดทน และรับผิดชอบ ทำให้คุณค่าของความเป็นคนสูงขึ้น”  คติประจำใจในการทำงานของชาวอาสาฯ :  “ชมเราก็ขอบคุณที่ให้กำลังใจที่จะก้าวต่อไป  ติเราก็ขอบคุณที่จะทำให้เรามีโอกาส                                                      สำรวจตัวเองเพื่อที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น”  ในปีแรกนี้ สมาชิกของชมรมอาสาพัฒนามีจำนวน 150 คน 

จุดมุ่งหมายของชมรมอาสาพัฒนา

  1. ฝึกให้สมาชิกได้รู้จักอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยอย้างมีเหตุผล และมีความสามัคคี
  2. ฝึกให้สมาชิกมีระเบียบวินัย เคารพเชื่อฟังต่อกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ
  3. ฝึกให้รู้จักเสียสละ อดทน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  4. ฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย
  5. เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
  6. เพื่อมุ่งหวังให้เด็กรู้จักรักธรรมชาติและรู้จักวิธีสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศชาติ
  7. เพื่อร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าในทุก ๆด้านเท่าที่สามารถ

ค.ศ. 1978 / พ.ศ. 2521

คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์ ผู้จัดการ  ได้เสนอจะสอนวิชาภาษาอังกฤษเป็นพิเศษแก่คุณครูซึ่งต้องการความรู้เพิ่มเติม  โดยจะแบ่งการสอนกับคุณพ่อสมศักดิ์ พรประสิทธิ์ อธิการบ้านเณรฯ  หลังโรงเรียนเลิกแล้ว โดยเริ่มสอนตั้งแต่ 1 พ.ย. 2521 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้รื้อถอนอาคารไม้ชั้นเดียว (อาคารเล้าไก่ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2510 สมัยคุณพ่อแหวน  ศิริโรจน์ เป็นผู้จัดการ) เมื่อ 14 สิงหาคม 2521  เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างอาคาร 40 ปี ดาราสมุทร  โดยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร 40 ปี ดาราสมุทร เป็นอาคารใหญ่ 5 ชั้น เซ็นสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2521  เพื่อเป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย ที่จะเปิดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2524  โดยกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาศรีราชา  โดยตั้งงบประมาณการสร้าง ไว้ที่ 7 ล้านบาท   และในปีการศึกษา 2521 นี้ โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2521  ตามแผนการศึกษาฉบับใหม่ เป็นระบบ 6-3-3  คือ  (เปลี่ยนจาก ป.1 – ป.7 ม.ศ.1 – ม.ศ.3  ม.ศ.4 – ม.ศ.5  เป็น  ป.1 – ป.6 , ม.1 – ม.3 , ม.4 – ม.6)           ปรับปรุงห้องสมุดอีกครั้ง โดยย้ายจากตึกเดิมมาอยู่ที่ชั้นสอง อาคาร 40 ปี จัดหาหนังสือเพิ่มเติม โดยเฉพาะหนังสือวิชาการ    เพื่ออำนวยประโยชน์แก่คณะครู-นักเรียนในด้านการเรียนการสอน

 

 

ค.ศ. 1981 / พ.ศ. 2524  (ปีแห่งมารยาทและจริยธรรม)

 เริ่มเปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524  ในปีการศึกษา 2524  โดยเปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ห้องเรียน

เปิดเรียน วันที่ 16 พฤษภาคม 2524  ปีนี้ จำนวนนักเรียน 2,600 คน  แผนการเรียนเริ่มแรก มี 2 แผน คือ แผนการเรียนที่มีวิชาเลือก คณิตศาสตร์กับภาษาอังกฤษและแผนการเรียนที่มีวิชาเลือก ภาษาอังกฤษกับภาษาฝรั่งเศส  ส่วนวิชาพื้นฐานวิชาชีพนั้น โรงเรียนจะเปิดวิชาพาณิชยกรรม  ทั้งนี้ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและความครบครันทางการศึกษาของโรงเรียน ทั้งเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้ที่ประสงค์จะเรียนต่อโดยไม่ต้องย้ายสถานศึกษา การเปิดแผนกมัธยมศึกษาตอนปลายนี้ จะกระทำเป็นขั้นเป็นตอนไป คือ ในปีการศึกษา 2524  เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ปีการศึกษา 2525  เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  และ ปีการศึกษา 2526  เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

          วิชาที่นักเรียนจะเลือกเรียนนั้น โรงเรียนจะพยายามสนองความต้องการของผู้เรียน โดยจะขยายเพิ่มให้มากขึ้นเป็นลำดับ  ตามความเหมาะสม สำหรับปีการศึกษา 2524 นั้น มีโครงสร้างดังต่อไปนี้

  • วิชาบังคับ

1.1  วิชาสามัญ :  ภาษาไทย    สังคมศึกษา    พลานามัย    วิทยาศาสตร์

1.2  วิชาพื้นฐานวิชาชีพ  :  พาณิชยกรรม

  2)  วิชาเลือก

       2.1  วิชาเลือกตามแผนการเรียน  :  คณิตศาสตร์ (สายที่ 1 เน้นหนักทางคณิตศาสตร์)  ภาษาอังกฤษ  ภาษาฝรั่งเศส  (โครงสร้างที่ 1  สำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศสตั้งแต่ชั้น ม.4)

       2.2  วิชาเลือกเสรี  :  นักเรียนอาจเลือกเพิ่มเติมเพื่อเสริมวิชาเลือกตามแผนการเรียน หรือเพื่อสนองความสนใจพิเศษ  โดยเลือกจาก 2.1  หรือที่ทางโรงเรียนอาจเปิดพิเศษให้ ตามความเหมาะสม 

 ช่วงนี้  เริ่มมีการรวบรวมโรงเรียนในสังฆมณฑลจันทบุรี ตั้งเป็นกลุ่มโรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี ชื่อย่อว่า รสจ.

 เดือนกันยายน 2524  คุณพ่อวีระ  ผังรักษ์  ผู้จัดการ สร้างสนามเทนนิส มาตรฐาน 3 สนาม ที่สนามหน้าตึกเซมินาริอุม เพื่อให้ครูได้เล่นกัน

 

พ.ศ.2557    ดำเนินการก่อสร้างอาคารสรรพปัญญา อาคาร 8 ชั้น มีชื่อว่า อาคารสรรพปัญญา ( Global Learning Centre )  โดยมีห้องเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้องประกอบการต่างๆ เช่นห้องสมุด ห้องเรียนขอจื่อ ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห้องเคมี ห้องชีววิทยา ห้องฟิสิกส์ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมาคมศิษย์เก่าฯ ห้องสมาคมผู้ปกครองและครู  ห้องธุรการ  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูและผู้เรียนให้มีสมรรถนะหลายด้านและการมีคุณภาพชีวิตในการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศโดยตลอดมา ผู้บริหารโรงเรียนดาราสมุทร ทุกยุคทุกสมัย ได้ปรับปรุงและพัฒนาด้านการศึกษาและอบรมทางด้านศีลธรรมทางศาสนา พร้อมด้วยจริยธรรมจรรยา ควบคู่ไปกับด้านเทคโนโลยีให้ทันยุคสมัยไปพร้อม ๆกันด้วยซึ่งในปี พ.ศ. 2559 นี้  เป็นโอกาสที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับการสถาปนามาครบรอบ 80 ปี  โดยจะทำการฉลองครบรอบการสถาปนาในครั้งนี้ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ศกนี้  พร้อมกันไปกับการทำหนังสืออนุสรณ์ 80 ปี ดาราสมุทร ด้วย

ค.ศ. 2016 / พ.ศ. 2559

จ.4 ม.ค. 2559   คณะครูและนักเรียนเริ่มย้ายเข้าไปใช้อาคารสรรพปัญญา (Darasamutr Global Learning Centre) หรือ

DGLC  อาคารสรรพปัญญา เป็นอาคารขนาดใหญ่กว่า 17,000 ตารางเมตร  ความสูง 8 ชั้น  มีทางเดินเชื่อมกับอาคาร 40 ปี

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  1. ส่วนของห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และห้องประกอบการต่างๆที่ทันสมัย
  2. ส่วนของห้องบริหารต่างๆ
  3. ส่วนบริการเช่นห้องประชุม ฯลฯ

วิสัยทัศน์โรงเรียนดาราสมุทร

อัตลักษณ์การศึกษาเด่น เป็นโรงเรียนมาตรฐานคุณภาพคาทอลิก

มุ่งผลสัมฤทธิ์แบบองค์รวม 

อุดมการณ์ 

“เพื่อต่องานของพระคริสตเจ้าในด้านสร้างสรรค์ และไถ่กู้” มนุษย์ถือกำเนิดมาจากความรักของพระเจ้า ผู้เป็นองค์ความจริงและความดีสูงสุด พระเยซูคริสตเจ้า มนุษย์ครบครันและสมบูรณ์แบบได้เสด็จมากอบกู้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่ตกต่ำไป ชี้นำแนวทางให้มนุษย์สามารถเจริญพัฒนาไปสู่ความครบครัน บริบูรณ์ จนบรรลุสัจธรรม ความจริงและธรรมสูงสุด มนุษย์ทุกคนจึงเป็นพี่น้องกัน มีเสรีภาพ และเสมอภาคเท่าเทียมกันในสิทธิ และหน้าที่ เพราะทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า พระบิดาองค์เดียวกัน ” 

ปรัชญาโรงเรียน 

การศึกษา คือการพัฒนาคนทั้งครบ (Personal Wholistic Development) ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อจะได้เป็นคนบริบูรณ์  ชีวิต คือ การรู้จักความจริง และรักความดี เพื่อบรรลุถึงสันติสุข และความเจริญอันถาวร สัมพันธภาพระหว่างชีวิตกับความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมกับพระวรสาร ความรู้กับคุณธรรม เป็นจิตสำนึกของมนุษย์ทุกคน

คำขวัญ 

ระเบียบ ขยัน อดทน 

คติพจน์ 

วิชาเลิศ เทิดคุณธรรม วินัยล้ำ คำชูไทย 

โรงเรียนดาราสมุทร  ตั้งอยู่ที่  เลขที่ 11  ถนนสุขุมวิท  ต.ศรีราชา  อ.ศรีราชา  จ.ชลบุรี  20110

โทร.  038 – 311133  โทรสาร  038 – 323188 

Cracked PC Software

The current replica watches uk Navitimer lineup is made up of some really nice perfect super clone Breitling watches with modern movements.

So, let’s spend some time talking about some luxury UK super clone replica watches wishes for 2022 from a selection of brands.

slot853

babaslot

babaslot

gajahslot88

gajahslot88

https://demo-slot-online.com/

http://www.medytox.com/-/demo-slot/

https://inisa.ac.id/wp-content/languages/

https://ecommerce.saintjohn.sch.id/Backup/demo-habanero/

https://mtt.ac.th/wp-content/languages/th/pgslot/

https://tesbakat.plb.ac.id/user_guide/lucky-neko/

https://smpmuh-cimanggu.sch.id/alumni/wwg/

https://sdhjisriati1smg.sch.id/testendik3/pyramid-bonanza/

https://perpus.plb.ac.id/help/koi-gate/

https://riha.ma/slot-server-luar/

https://en.dailypakistan.com.pk/11-Aug-2023/slot-thailand-2023/

https://en.dailypakistan.com.pk/26-Jun-2023/slot-server-rusia/